วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสื่อมัลติมีเดีย
ชื่อบทความ(English)
Developing innovative care for the elderly through multimedia
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง กาญจนา ขัติทะจักร์(1*) และ ศศินิส์ภา พัชรธนโรจน์(1) (Kanchana Khatthachak(1*) and Sasinipa Patcharathanaroach(1))
หน่วยงาน ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่(1) (Computer Department, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University(1)) *Corresponding author: kanjana_kat@g.cmru.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2568
บทคัดย่อ

  การพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสื่อมัลติมีเดีย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสื่อมัลติมีเดีย เป็นสื่อมัลติมีเดียที่สามารถให้ความรู้ในดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้ สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาได้ผ่านการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ นำเสนอการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุใน 5 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อม โรคสมองเสื่อม โรคภาวะไขมันในเลือดสูง ภาพรวมคุณภาพสื่อ มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.52 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก เมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานสื่อมัลติมีเดีย พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุด

คำสำคัญ สื่อมัลติมีเดีย; ผู้สูงอายุ
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 2
เดือนที่พิมพ์ พฤษภาคม - สิงหาคม
เลขที่หน้า (Page) 211-223
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0003-7577-0712
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68019E.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  กษิดิศ ชื่นชู. (2563). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง หนูปลูกผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเสาธงนอก. สมุทรปราการ: สำนกงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ.
  เจรียง จันทรกมล. (2566). โรค NCDs จุดเริ่มต้น 5 โรคเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2567 ค้นจาก https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/251
  เทศบาลตำบลทุ่งต้อม. (2567). ประวัติความเป็นมาเทศบาลทุ่งต้อม. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2567 ค้นจาก https://tungtom.go.th/index
  บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
  บุษราคัม ทองเพชร และคณะ. (2563). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียสำหรับญาติผู้ป่วย เรื่องการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์: 15(2), 41-56.
  บังคม นิลรักษ์. (2555). เทคโนโลยีสื่อประสม. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2567. ค้นจาก http://ict.ppschool.ac.th/joe/lesson/Multimedia.pdf.
  พรวนา รัตนชูโชค. (2561). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการความรู้ และพัฒนาสื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
  มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
  ลภัสรดา ธนพันธ์ และคณะ. (2564). ความต้องการหลักสูตรระยะสั้นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุในสถาบันการอุดมศึกษาไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: 9(3), 1-7.
  สายสุนีย์ จับโจร และคณะ. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับโต้ตอบกับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: 7(2), 47-58.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th