วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 
Maejo Information Technology and Innovation Journal (MITIJ)
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
 
» หน้าแรก
» ฉบับปัจจุบัน
» ฉบับย้อนหลัง
» ค้นหาวารสาร/บทความ
» ลงทะเบียน (OJS/PKP)
 

                               :: รายละเอียดบทความ ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อบทความ
การวิเคราะห์กำไรสูงสุดของการผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว กรณีศึกษากาแฟดอยลังกาเทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
ชื่อบทความ(English)
Maximum profit analysis of roasted coffee beans production: a case study of Doi Langka Thep Sadej Coffee, Doi Saket, Chiang Mai
ประเภทบทความ
บทความวิจัย
ชื่อผู้แต่ง เชาว์วรรธน เกินกลาง(1), สุพรรษา แม่นยำ(1), อรรถยา สมศรี(1), พัฒนพงศ์ เทียนชัย(1) และ พิกุล ศรีดารัตน์(1*) (Chaowantana Kernklang(1), Supansa Maenyam(1), Auttaya Somsri(1), Pattanapong Tianchai(1) and Phikul Sridarat(1*))
หน่วยงาน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้(1) (Department of Mathematics, Faculty of Science, Maejo University(1)) *Corresponding author: phikul@mju.ac.th
ชื่อวารสาร วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2568
บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาจำนวนการผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแต่ละแบบให้ได้กำไรสูงสุดโดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์และเทคนิคบิ๊กเอ็ม กรณีศึกษา : บริษัท DTC FOOD PRODUCTS แบรนด์ SUCHADA มีแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟจากดอยลังกา ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่  ซึ่งได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟคั่ว แบ่งตามกระบวนการผลิต   3 กระบวนการ ได้แก่ Washed Process, Dry Process และ Honey Process แต่ละกระบวนการมีระดับการคั่ว 3 ระดับ ได้แก่ คั่วอ่อน คั่วกลาง และคั่วเข้ม คิดเป็น 9 แบบ และ แบบ Drip Coffee รวมทั้งสิ้น 10 แบบ ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่สำรวจ สร้างตัวแบบของปัญหากำหนดการเชิงเส้น และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจำนวนการผลิตที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
        จากการดำเนินงานพิจารณา กรณีไม่กำหนดความต้องการผลิตต่อวัน โดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์ พบว่าควรผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Dry Process ชนิดคั่วอ่อน หรือ เมล็ดกาแฟคั่วแบบ Honey Process ชนิดคั่วอ่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง 343 ถุง/วัน และผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Drip Coffee ชนิดคั่วกลาง 205 ถุง/วัน เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด 89,967.50 บาท/วัน กรณีกำหนดความต้องการผลิตต่อวันโดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์เทคนิค Big-M พบว่าควรผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Dry Process ชนิดคั่วอ่อน หรือ เมล็ดกาแฟคั่วแบบ Honey Process ชนิดคั่วอ่อน 338 ถุง/วัน ผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Washed Process ชนิดคั่วกลาง 1 ถุง/วัน ผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Washed Process ชนิดคั่วเข้ม 4 ถุง/วัน และผลิตเมล็ดกาแฟคั่วแบบ Drip Coffee ชนิดคั่วกลาง 205 ถุง/วัน เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด 89,792.50 บาท/วัน 

คำสำคัญ การหาค่าเหมาะที่สุด; กำหนดการเชิงเส้น; วิธีซิมเพล็กซ์; เทคนิคบิ๊กเอ็ม
ปี พ.ศ. 2568
ปีที่ (Vol.) 11
ฉบับที่ (No.) 3
เดือนที่พิมพ์ กันยายน - ธันวาคม
เลขที่หน้า (Page) 258-277
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
DOI
ORCID_ID 0009-0001-9205-2232
ไฟล์บทความ https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R68033.pdf
  
เอกสารอ้างอิง 
  จินตนา จูมวงษ์. (2543). เอกสารประกอบการสอน วิชา คศ 103 คณิตศาสตร์ 1. เชียงใหม่: ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
  จีรวรรณ พัชรประกิติ, รัตติกาล จักรวาลย์ และนพพร พัชรประกิติ. (2567). การหาค่าเหมาะที่สุด ของการผลิตผ้าบาติกโดยใช้วิธีซิมเพล็กซ์อย่างรวดเร็ว. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา, 29(1), 147-158.
  โชติกา กุหลั่น, โชติรส ฤทธิ์บำรุง, ชลธิดา ปัญจะรักษ์ และพิกุล ศรีดารัตน์. (2564). การหากำไรสูงสุด ของการผลิตข้าวแต๋น ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีซิมเพล็กซ์. ใน: รายงานสืบ เนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2 (หน้า 533-551). เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย แม่โจ้.
  สุพัตรา แลดี. (2564). การเปรียบเทียบองค์ประกอบของสารตั้งต้นของสารให้กลิ่นรสของกาแฟ พันธุ์อะราบิกาและผลของการคั่วต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพ และทางประสาทสัมผัสของ กาแฟ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา วท.ม. (การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร)). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:164216
  Aldino, A. A., & Ulfa, M. (2021). Optimization of Lampung Batik production using the simplex method. BAREKENG: Jurnal Ilmu Matematika dan Terapan, 15(2), 297–304.
  Coffee Press. (2564). เมล็ดกาแฟ Washed, Natural หรือ Honey Process เรื่องที่คนรักกาแฟ ทุกคนควรรู้. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2568. ค้นจาก https://coffeepressthailand.com/2020/08/21/coffeeprocessing/
  Girma, B., & Sualeh, A. (2022). A review of coffee processing methods and their influence on aroma. International Journal of Food Engineering and Technology, 6(1), 7-16. http://doi.org/10.11648/j.ijfet.20220601.12
  Krishnan, S. (2013). Current status of coffee genetic resources and implications for conservation. CAB Reviews, 8(16), 1-9. http://doi.org/10.1079/PAVSNNR20128016_2013
  Noppakoonwong, U., Khomarwut, C., Hanthewee, M., Jarintorn, S., Hassarungsee, S., Meesook, S., Daoruang, C., Naka, P., Lertwatanakiat, S., Satayawut, K., Pereira, A.P., Silva, S.M.C., & Varzea, V.M.P. (2015). Research and development of arabica coffee in Thailand. In Proceedings of the 25th International Conference on Coffee Science (pp. 42-49). Armenia, Colombia: Association for science and information on coffee (ASIC).
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลับสู่ เมนูค้นหา
       
กองบรรณาธิการวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290  mitij@mju.ac.th